
โดยมีนายดนุชา สินธวานนท์ เลขาธิการ กปร. ผู้บริหารสำนักงาน กปร. และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพร้อมนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดำเนินงานสนองพระราชดำริเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ จำนวน 100 ท่าน
การประชุมคณะกรรมการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 2/2559 ในวันนี้ ที่ประชุมจะได้รับทราบถึงผลการดำเนินงานและการติดตามการเำเนินงานในโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในประจำปี 2559 ที่สำคัญๆ อาทิโครงการการปรับปรุงและขยายพันธุ์หญ้าแฝกโดยเมล็ด และโครงการศึกษาการป้องกันดินถล่ม โครงการการศึกษาระบบบำบัดน้ำทิ้งจากระบบเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ โครงการการศึกษาระบบบำบัดน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โครงการการศึกษาระบบบำบัดน้ำทิ้งจากระบบเพาะพันธุ์กุ้งก้ามกราม โครงการการส่งเสริมระบบบำบัดน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงสัตว์ โครงการรณรงค์ปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน โครงการปลูกหญ้าแฝกเสริมป่าเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การปลูกหญ้าแฝกที่นำระบบวิธีหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในแปลงพืชเกษตร และโครงการอิทธิพลของหญ้าแฝกร่วมกับการปลูกพืชคลุมดินที่มีต่อการอนุรักษ์ดินและน้ำในแปลงไม้ผลและการต่อยอดขยายผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริในปี 2559 ของ หน่วยงานที่สนองพระราชดำริ ประกอบด้วยกรมพัฒนาที่ดิน กรมปศุสัตว์ กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร กรมทางหลวง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช และกรมป่าไม้
พร้อมกันนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2560 – 2564 ) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานโดยยึดแนวพระราชดำริ เน้นการปลูกหญ้าแฝกร่วมกับแนวคิดของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้ด้านหญ้าแฝก ส่งเสริมการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เป็นเครื่องมือในการติดตามผลเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิจัย การจัดการองค์ความรู้ การส่งเสริม และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ทั้งนี้ จาการศึกษา ทอดลอง วิจัย โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งได้ดำเนินงานตั้งแต่ปี 2535-2559 สำนักงาน กปร. ได้สนับสนุนงบประมาณในการวิจัยไปแล้วจำนวน 262 เรื่อง แบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่ การอนุรักษ์ดินและน้ำ การเขตกรรม วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (การเจริญเติบ การขยายพันธุ์) การปลูกร่วมกับพืชเกษตร การส่งเสริม การใช้ประโยชน์และสิ่งแวดล้อม พันธุ์หญ้า สำหรับพันธุ์หญ้าแฝกที่ใช้การดำเนินงานที่ศึกษา วิจัยแล้วว่ามีความเหมาะสมในการใช้เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ และไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด รวม 10 พันธุ์ ได้แก่ หญ้าแฝกลุ่ม 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์สุราษฏร์ธานี ศรีลังกา กำแพงเพชร 2 สงขลา 3 และหญ้าแฝกดอน 6 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์นครสวรรค์ กำแพงเพชร 1 เลย ร้อยเอ็ด ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ จากผลการศึกษา วิจัย ได้นำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อาทิในพื้นที่เกษตร พื้นที่เสียงภัย พื้นที่สูง พื้นที่ที่มีปัญหาสารพิษ และสารปนเปื้อนโลหะหนักต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย.⧭
ข้อมูล : กองประชาสัมพันธ์ สำนักงาน กปร.
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น